1. พระรอดละโว้2482_วัดกําแพง ลพบุรี
พระรอดละโว้ วัดกําแพง ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นพระที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มาสร้างศาลาการเปรียญวัดกําแพงที่ยังไม่แล้วเสร็จ พระสุทธิพงศ์มุนี (พระมหาพงศ์ พุทธสโร) ซึ่งพื้นเพเป็นคนลพบุรี จึงปรึกษาพระอธิการทองดํา เจ้าอาวาสวัดกําแพงและคณะทายกทายิกา ว่าจะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว พระสุทธิพงศ์มุนีจึงได้เสาะหาตําราของบูรพาจารย์รุ่นเก่าๆ เกี่ยวกับพิธีกรรมในการสร้างวัตถุมงคล จนไปพบตําราการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์จากวัดสามปลื้ม วัดที่ท่านเคยได้จําพรรษาอยู่นั้นเอง ท่านจึงได้กราบทูลขอความอนุเคราะห์ในด้านชนวนโลหะและพิธีการสร้างจาก สมเด็จสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ สมเด็จฯ ท่านจึงได้มอบหมายให้ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์ฯ มาเป็นประธานและที่ปรึกษาแทนพระองค์ท่าน รายการพระเครื่องที่จัดสร้าง 1. พระรอดละโว้เนื้อโลหะ เฉพาะเนื้อโลหะ มี 4 พิมพ์ คือ - พิมพ์ต้อ - พิมพ์ชะลูด - พิมพ์ต้อไม่มีรัศมี - พิมพ์ประกบสองหน้ารัศมี มีรูปหลวงพ่อทั้งสองหน้า เป็นพิมพ์ที่หายากมากที่สุด ว่ากันว่า ใน 1 บาตรพระจะมีพระพิมพ์นี้อยู่แค่ 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นของ ธงชัย แป้นวงศ์ (ตี๋สั้น) และอีกองค์เป็นของ ดร.ไสว พงษ์เก่า 2. พระรอดละโว้เนื้อผง จะมีทั้งหมด 7 สีประจําวัน ตามคติโบราณของไทย ซึ่งจะต่างกับปัจจุบันเล็กน้อย ดังนี้ - วันอาทิตย์ สีส้มหรือสีแดง - วันจันทร์ สีขาวหรือสีนวล - วันอังคาร สีชมพู - วันพุธ สีเขียว - วันพฤหัสบดี สีเหลือง - วันศุกร์ สีน้ําเงินหรือสีฟ้า - วันเสาร์ สีดําหรือสีม่วงแก่ และมีสีดําและขาวเพิ่มขึ้นมาอีกสองสี รวมเป็นทั้งหมด 9 สีด้วยกัน หลังจากประกอบพิธีเสร็จ 3. ผ้ายันต์ธง 4 แบบ เช่น ผ้ายันต์ปลาตะเพียนคู่ ผ้ายันต์พระฉิมพลี ธงแม่โพสพ ธงกําจัดโรคภัย 4. แหวนเกราะเพชร (แหวนมงคล 7 ราศี) แหวนนี้จะมีทําสําหรับประจําวันต่างๆ ครบ 7 วัน เนื้อโลหะผสมออกทองแดง ด้านในหล่อเป็นยันต์นูน พิธีการสร้าง ณ วัดสุทัศน์ฯ กทม. เนื่องจากทางวัดกําแพงเครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อม จึงได้ทําพิธีการเททองหล่อขึ้นที่วัดสุทัศน์ฯ โดยมี ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) เป็นผู้ดําเนินการให้ รวมไปถึงพระรอดละโว้เนื้อผงก็ทําการกดพิมพ์ด้วยมือที่วัดสุทัศน์ฯ เช่นกัน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้ส่งไปปลุกเสกที่วัดกําแพง ลพบุรี (ไม่ได้มีการเททองหล่อพระที่วัดกําแพงเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด) พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดกําแพง จังหวัดลพบุรี ในวันอังคารขึ้น 11 ค่ํา เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม 2482 (แต่ทางวัดได้จัดงานเฉลิมฉลองและมีมหรสพสมโภชตั้งแต่วันที่ 19-21 มีนาคม ไม่ได้ปลุกเสกกัน 3 วัน 2 คืนเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างกัน) โดยมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ เป็นเจ้าพิธี จัดพิธีถูกต้องตามตําราของวัดสุทัศน์ฯ ทุกประการ เป็นพิธีใหญ่ที่สุดที่เคยจัดมาของจังหวัดลพบุรีในสมัยนั้นเลยทีเดียว รายนามคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก 1. ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทํศน์ฯ กทม. 2. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม. 3. เจ้าคุณธรรมทานาจารย์ วัดระฆัง กทม. 4. พระครูปาโมกข์มุนี (หลวงปู่ชื่น)วัดป่าโมกข์ อ่างทอง 5. เจ้าคุณสังฆภารวาหมุนี (เนียม) วัดเสาธงทอง ลพบุรี 6. พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) วัดหนองโพ นครสวรรค์ 7. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา NoBrand